30128-8501 การซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
เรื่องการเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์ในปี2021
นาย จักรี ขอร่ม เลขที่ 2 กลุ่ม 1
การเลือกซื้อ Internal Hard Disk ให้เหมาะกับการใช้งาน
Hard Disk Driveการเลือกซื้อ Internal Hard Disk ให้เหมาะกับการใช้งาน
สำหรับการเลือก ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) นั้น ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักเลือกจากความจุเป็นหลัก ซึ่งจริง ๆ มันยังมีอีกหลายส่วนที่คุณจำเป็นจะต้องรู้ด้วย อย่างความเร็วในการอ่านข้อมูล และความเร็วในการเขียนข้อมูล ซึ่งมันมีผลต่อสมรรถนะการทำงานโดยรวมของตัวเครื่องค่อนข้างมาก ฉะนั้นเพื่อให้ง่าย คุณสามารถพิจารณาเลือกซื้อตามนี้ได้เลยครับ
1. เลือกให้ตรงกับลักษณะการใช้งาน
สำหรับ Internal Hard Disk หรือ ฮาร์ดดิสก์ภายใน นั้น ในปัจจุบันมีการแบ่งประเภทการใช้งานอยู่ 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
Hard Disk สำหรับใช้งานแบบทั่วไป
ก็คือฮาร์ดดิสก์ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดีนั่นแหละครับ ใช้อยู่ในคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งก็จะมีแยกย่อยลงไปอีก มีทั้งรุ่นที่มีความเร็วสูง ๆ เหมาะสำหรับใช้ทำงานหนัก ๆ และรุ่นราคาประหยัดที่เหมาะสำหรับการใช้งานทั่ว ๆ ไป
Hard Disk สำหรับใช้กับกล้องวงจรปิด
: เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ได้รับการพัฒนามาให้ใช้ร่วมกับกล้องวงจรปิดโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีความจุที่มาก มีเทคโนโลยีที่ช่วยลดอุณหภูมิตัวมันเอง ช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
Hard Disk สำหรับใช้งานในองค์กร
ถูกออกแบบมาให้ใช้กับ Network Attached Storage หรือ NSA ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่
2. ความจุของฮาร์ดดิสก์
สำหรับ ความจุของฮาร์ดดิสก์ เราแนะนำให้เลือกความจุตั้งแต่ 1TB ขึ้นไป เนื่องจากมันมีราคาสูงกว่าฮาร์ดดิสก์แบบที่มีความจุต่ำกว่านี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้งความจุ 500GB ใช้ไปไม่นานมันก็เต็ม ดังนั้นเพิ่มเงินนิดหน่อยคุณก็จะได้พื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มมากขึ้น คุ้มกว่าครับ สำหรับการใช้งานกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป
ส่วนการใช้งานในองค์กร และการใช้งานกับกล้องวงจรปิด คุณจะต้องพิจารณาดูว่าข้อมูลของคุณมีอยู่มากน้อยขนาดไหน อย่างระบบกล้องวงจรปิด หากคุณมีกล้องเพียง 3-4 ตัว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงมาก เพียง 2TB ก็สามารถบันทึกข้อมูลมากกว่า 10 วันแล้ว ดังนั้นเลือกความจุตามความเหมาะสม แต่ถ้าหากมีงบประมาณเหลือ ๆ ก็เผื่อความจุเอาไว้ด้วยก็ได้ครับ
3. ความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์
อย่างที่ได้บอกไปในตอนต้นครับว่า ความเร็วในการอ่านข้อมูล และความเร็วในการเขียนข้อมูลนั้นมันมีผลต่อสมรรถนะการทำงานโดยรวมของตัวเครื่องค่อนข้างมาก ซึ่งฮาร์ดดิสก์แบบนี้ภายในจะเป็นแบบจานหมุน มันจะมีความเร็วรอบระบุเอาไว้ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 5400RPM-7200RPM หรือ รอบต่อนาที พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือถ้าหากจานมันหมุนได้เร็ว ข้อมูลที่อยู่บนจานนั้น ก็จะวิ่งมาถึงหัวอ่านได้เร็วขึ้นนั่นเอง ทำให้การเรียกข้อมูลทำได้ไวขึ้นครับ
4. หน่วยความจำแคชของฮาร์ดดิสก์
สำหรับ หน่วยความจำแคช หรือ บัฟเฟอร์ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่สามารถช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งมันก็คือพื้นที่พักข้อมูลแบบชั่วคราว ทำให้เมื่อคุณเรียกข้อมูลขึ้นมา แล้วปิดไป และเรียกขึ้นมาใหม่ มันจะไม่ต้องเสียเวลากลับไปหาข้อมูลนั้นใหม่ หากมีหน่วยความจำแคชมาก ก็จะช่วยประหยัดเวลาในการทำงานของคุณ
5. ขนาดของฮาร์ดดิสก์
ขนาดของฮาร์ดดิสก์ ในปัจจุบันที่ใช้งานกันทั่ว ๆ ไปก็จะมีอยู่ 2 ขนาดหลัก ๆ คือ ฮาร์ดดิสก์ ขนาด 2.5 นิ้ว ซึ่งจะใช้ใน โน๊ตบุ๊ค เป็นหลัก และขนาด 3.5 นิ้ว จะใช้ใน คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
1) 2.5-inch Serial ATA (SATA) SSD
เป็น SSD ที่หน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับฮาร์ดดิสก์แบบดั้งเดิม แต่ผอมเพรียวกว่า ใช้สาย SATA ในการเชื่อมต่อเหมือนเดิม ถ้าเดิมใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA อยู่แล้ว SSD แบบนี้ก็จะสามารถนำมาใช้ได้อย่างแน่นอน แต่อาจจะต้องซื้อ Bay (ตัวถาดยึด) มาช่วยในการติดตั้งด้วย เนื่องจากขนาดมันเล็กกว่าช่องเสียบฮาร์ดดิสก์แบบปกติ ทั้งนี้เคสคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะมีช่องสำหรับติดตั้ง SSD แบบนี้ให้มาเลย
ภาพจาก https://www.samsung.com/th/memory-storage/850-evo-sata-3-2-5-inch-ssd/MZ-75E250BW/
2) SSD Add-in Card (AIC) / SSD PCIe
SSD แบบนี้ จะเสียบลงบนช่อง PCI Express bus ซึ่งปกติเราเอาไว้เสียบการ์ดจอนั่นแหละ ซึ่งความเร็วในการส่งข้อมูลของพอร์ตนี้มีความเร็วเหนือกว่า SATA มากๆ
แต่มันก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างเช่นกัน ถ้าเมนบอร์ดคุณมีช่อง PCIe ให้มาน้อย เราก็ต้องเก็บมันไว้เสียบการ์ดจออยู่แล้ว หรือเคสที่มีพื้นที่จำกัดอาจจะไม่มีพื้นที่พอให้คุณใช้ SSD แบบนี้
ภาพจาก https://www.gigabyte.com/th/Solid-State-Drive/AORUS-RGB-AIC-NVMe-SSD-512GB#kf
3) M.2 SSD
หน้าตาของ SSD แบบ M.2 จะคล้ายๆ กับแรม ด้วยความเล็กของมัน ทำให้นิยมใช้ในโน้ตบุ๊ค แต่ก็สามารถเห็นได้ทั่วไปในคอมพิวเตอร์สมัยนี้ เมนบอร์ดบางรุ่นมีพอร์ต M.2 ให้มาถึง 2 ช่อง เพื่อทำ RAID เลยทีเดียว
M.2 มีหลายขนาด แต่ส่วนใหญ่จะกว้าง 22 มม. ยาว 80 มม. ซึ่งเราสามารถดูได้จากรหัสของตัว SSD เลย จะมีระบุเลขเอาไว้ว่า M.2 2280
เรื่องชวนงง ก็จะอยู่ที่ M.2 นี่แหละ เพราะ SSD โครงสร้างนี้ จะมีแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามมาตรฐาน Protocol ที่ใช้ในการทำงานลงไปอีก คือ NVMe M.2 กับ SATA M.2
NVMe M.2
NVMe ย่อมาจาก NVM Express หรือมีชื่อเต็มยศว่า Non-Volatile Memory Host Controller Interface Specification ทำงานผ่านทาง Protocal ของ PCI Express ทำให้มีความเร็วสูงกว่า SATA M.2 เป็นอย่างมาก และแน่นอนว่า SSD แบบนี้มักจะมีราคาที่สูงกว่าแบบ SATA M.2 ด้วย
แม้หน้าตาจะดูทันสมัย แต่ความจริงมันทำงานอยู่บน Protocal ของ Serial ATA (SATA) ทำให้ความเร็วนั้น ไม่ได้แตกต่างจาก 2.5-inch Serial ATA (SATA) SSD เลยแม้แต่น้อย แค่หน้าตาคนละแบบ แค่นั้นเอง
จุดสังเกตง่ายๆ คือ SATA M.2 จะมีเขี้ยวเชื่อมต่อ 3 แง่ง ในขณะที่ NVMe M.2 จะมีแค่ 2 แง่ง เท่านั้น
เปรียบเทียบความเร็วในการรับส่งข้อมูล
SATA III Hard Drive | SATA III SSD | NVMe SSD | |
~100 MB/s อ่าน | 530 MB/s อ่าน | 3,500 MB/s อ่าน | |
~100 MB/s เขียน | 500 MB/s เขียน | 3,000 MB/s เขียน |
สรูป SSD กับ HDD อันไหนทนกว่ากัน
ถ้าอ่านมาถึงจุดนี้แล้วคงน่าจะพอเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของ SSD กับ HDD มากันบ้างแล้ว แม้จะไม่ได้ลงรายละเอียดมากเท่าไหร่ แต่น่าจะพอเห็นภาพการทำงานของมัน จริงๆแล้วเราไม่สามารถการันตีได้ว่าแบบไหนดีกว่ากัน เพราะทั้ง 2 รูปแบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป คงจะตอบคำถามในข้อนี้ได้ดังต่อไปนี้
- ถ้ามีการใช้งานปกติทั่วไปไม่มีเหตุอื่นๆใดๆเลย HDD มีระยะการใช้งานที่ยืนยาวกว่า SSD
- ถ้าอุปกรณ์ที่ต้องเคลื่อยย้ายหรือได้รับแรงกระแทกบ่อยๆ SSD จะใช้งานได้ทนทานกว่า
- ความคงทนทางด้านกายภาพ SSD จะได้เปรียบ HDD
- แต่ HDD จะได้เปรียบเรื่องอายุการใช้งาน (ถ้ามันไม่เสียก่อน)
ตามหลักแล้วส่วนใหญ่ผู้คนมักเก็บข้อมูลสำคัญๆต่างๆไว้ใน HDD เพราะได้เปรียบในเรื่องของความคงทนในภาพปกติ และมีพื้นที่ใช้งานที่มากกว่าในราคาเดียวกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังที่กล่าวมาด้วย ว่าคุณควรตัดสินใจเลือกใช้งานแบบไหน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น