30128-8501 การซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

ตอบคำถาม เรื่องเพาเวอร์ซัพพลาย 

1 พาเวอร์ซัพพลาย ทำหน้าที่อะไร 

    แหล่งจ่ายไฟหรือที่มักจะเรียกทับศัพท์ว่าเพาว์เวอร์ซัพพลาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ไฟฟ้ากระแสสลับจากแหล่งกำเนิดให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงด้วยความต่างศักย์ที่เหมาะสมก่อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยมีสายเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ภายในเครื่อง ซึ่งในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดความร้อนขึ้นด้วย ดังนั้นภายในแหล่งจ่ายไฟจึงต้องมีพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อนออกจากตัวเครื่องซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะการที่เครื่องมีความร้อนที่สูงมาก ๆ นั้น อาจจะเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ประกอบภายในเครื่องได้ง่าย ปกติแล้วมักจะไม่ค่อยมีการเลือกซื้อพาว์เวอร์ซัพพลายกันนักถ้าไม่ใช่เนื่องจากตัวเก่าที่ใช้อยู่เกิดเสียไปโดยมากเราจะเลือกซื้อ มาพร้อมกับเคส

         เพาว์เวอร์ซัพพลายจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ​
         1. แบบ AT
         2. แบบ ATX

2. ส่วนประกอบของ เพาเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

  1. ไฟกระแสสลับขาเข้า (AC Input) พลังงานไฟฟ้าในส่วนนี้ จะมาจากปลั๊กไฟ โดยที่รู้แล้วว่าไฟที่ใช้กันอยู่จะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีขนาดแรงดัน 220v ความถี่ 50 Hz เมื่อเสียบปลั๊กไฟกระแสไฟฟ้าก็จะวิ่งตามตัวนำเข้ามายังเครื่องใช้ไฟฟ้า
  2. ฟิวส์ (Fuse) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการป้องกันวงจรพาวเวอร์ซัพพลายทั้งหมดให้รอดพ้นอันตราย จากกระแสไฟแรงสูงที่เกิดขึ้นจากการถูกฟ้าผ่า หรือกระแสไฟฟ้าแรงสูงในรูปแบบต่างๆ โดยหากเกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าที่ฟิวส์จะทนได้ ฟิวส์ตัวนี้ก็จะตัดในทันทีทันใด
  3. วงจรกรองแรงดัน วงจรกรองแรงดันนี้จะทำหน้าที่กรองแรงดันไฟไม่ว่าจะเป็นแบบกระแสสลับ หรือกระแสตรงก็ตาม ที่เข้ามาให้มีความบริสุทธิ์จริงๆ เพื่อป้องกันแรงดันไฟฟ้าที่ผิดปกติเช่นไฟกระชาก ซึ่งจะเป็นผลให้วงจรต่างๆ ในพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหายขึ้นได้
  4. หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) หม้อแปลงที่ใช้ในวงจรสวิตชิ่งซัพพลายจะเป็นหม้อแปลงที่มีหน้าที่ในการแปลงไฟที่ได้จากภาคสวิตชิ่ง ซึ่งก็รับแรงดันไฟมาจากภาคเรติไฟเออร์อีกต่อหนึ่ง โดยแรงดันไฟฟ้ากระแสงตรงที่มีค่าแรงดันสูงขนาดประมาณ 300 v ดังนั้นหม้อแปลงตัวนี้ก็จะทำหน้าที่ในการแปลงแรงดันไฟกระแสตรงสูงนี้ให้มีระดับแรงดันที่ลดต่ำลงมา เพื่อที่จะสามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ก่อนที่จะส่งไปให้วงจรควบคุมแรงดันต่อไป
  5. วงจรควบคุมแรงดัน (Voltage Control) เป็นวงจรที่จะกำหนดค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้รับมาจากหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อที่จะให้ได้ระดับแรงดันที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ต่างๆ โดยค่าของระดับแรงดันไฟฟ้านี้ก็จะมีขนาด 5v และ 12v สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดแบบ AT แต่ถ้าเป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดที่เป็นแบบ ATX ก็จะต้องมีวงจรควบคุมแรงดันให้ออกมามีขนาด 3.3v เพิ่มอีกหนึ่ง (ซึ่งซีพียูรุ่นเก่าที่ใช้แรงดันไฟขนาด 3.3 v นี้ก็สามารถที่จะดึงแรงดันไฟในส่วนนี้ไปเลี้ยงซีพียูได้เลย)
  6. วงจรควบคุม เป็นวงจรที่ใช้ในการควบคุมวงจรสวิตชิ่ง ว่าจะให้ทำการจ่ายแรงดันไปให้กับหม้อแปลงหรือไม่ และแน่นอนว่าในส่วนนี้จะทำงานร่วมกับวงจรลอจิกที่อยู่บนเมนบอร์ด เมื่อวงจรลอจิกส่งสัญญาณกลับมาให้แก่วงจรควบคุม วงจรควบคุมก็จะสั่งการให้วงจรสวิตชิ่งทำงาน
  7. ภาคเรคติไฟเออร์ (Rectifier) หลังจากที่ไฟกระแสสลับ 220v ได้วิ่งผ่านฟิวส์ และวงจรกรองแรงดันเรียบร้อยแล้วก็จะตรงมายังภาคเรคติไฟเออร์ โดยหน้าที่ของเจ้าเรคติไฟเออร์ ก็คือ การแปลงไฟกระแสสลับ ให้มาเป็นไฟกระแสตรง ซึ่งก็ประกอบไปด้วย
    • ตัวเก็บประจุ (Capacitor) จะทำหน้าที่ทำปรับให้แรงดันไฟกระแสตรงที่ออกมาจากบริดเรคติไฟเออร์ ให้เป็นไฟกระแสตรงที่เรียบจริงๆ
    • ไดโอดบริดจ์เรคติไฟเออร์ (Bridge Rectifier) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของตัว IC หรือแบบที่นำไดโอด 4 ตัวมาต่อกันให้เป็นวจรบริดจ์เรคติไฟเออร์
    • วงจรสวิตชิ่ง (Switching) เป็นวงจรที่ใช้ในการทำงานร่วมกับวงจรควบคุม (Contrlo Circuit) เพื่อตรวจสอบว่าควรจะจ่ายแรงดันทั้งหมดให้กับระบบหรือไม่ โดยถ้าวงจรควบคุมส่งสัญญาณมาให้กับวงจรสวิตซิ่งว่าให้ทำงาน ก็จะเริ่มจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ได้จากภาคเรคติไฟเออร์ไปให้กับหม้อแปลงต่อไป

3. จงเขียนขั้นตอนการทดสอบ เพาเวอร์ซัพพลาย คอมพิวเตอร์ 

1.ปิดคอม. ถ้าคอมปิดอยู่ หรือปิดคอมเรียบร้อยแล้ว ให้กดสวิตช์ที่หลัง power supply จากนั้นถอดปลั๊ก
2.เปิดเคสคอม. ถอดสาย power supply จากทุกชิ้นส่วนที่เชื่อมต่ออยู่ในเคส ให้ไล่ตามสายจาก power supply ไปยังแต่ละชิ้นส่วน ให้แน่ใจว่าถอดทุกสายครบถ้วน
3.ทดสอบด้วยคลิปหนีบกระดาษ. คุณใช้คลิปหนีบกระดาษทดสอบ power supply ได้ โดยทำให้ power supply เข้าใจว่าตัวเองเปิดอยู่ ให้คุณดัดลวดให้ตรงแล้วดัดเป็นรูปตัว “U”
  • เราจะใช้คลิปหนีบกระดาษแทน pin ที่เสียบอยู่ใน power supply เวลา “Power ON” หรือเปิดสวิตช์ให้ไฟเข้าแล้ว
4.หา connector แบบ 20/24 Pin ที่ปกติจะติดอยู่กับเมนบอร์ดของคอม. ปกติจะเป็นหัวเสียบที่ใหญ่ที่สุดของ power supply
 5.หา pin สีเขียวกับสีดำ (pins 15 & 16). คุณต้องเสียบปลายคลิปหนีบกระดาษใน pin สีเขียว (มีอันเดียว) กับสีดำที่อยู่ติดกัน แต่ก่อนจะเสียบต้องเช็คให้ชัวร์อีกทีว่าถอดปลั๊ก power supply แล้วจริงๆ รวมถึงปิดสวิตช์อยู่ และไม่ได้เชื่อมต่ออยู่กับชิ้นส่วนไหนของคอม
  • pin สีเขียวมักเป็น pin 15 ในผัง pin
6.เสียบคลิปหนีบกระดาษ. พอเสียบปลายคลิปลงในทั้ง 2 pin ให้วางสายไฟไว้ตรงจุดที่ไม่เกะกะ แล้วเสียบปลั๊ก power supply คืน จากนั้นเปิดสวิตช์ 
7.เช็คพัดลม พอไฟเข้า power supply แล้ว จะได้ยินเสียงและ/หรือเห็นพัดลมหมุน บอกให้รู้ว่าอย่างน้อย power supply ยังใช้ได้อยู่ ถ้า power supply เงียบฉี่ไม่ตอบสนอง ให้กลับไปเช็ค pin (ถอดปลั๊กก่อน) แล้วลองใหม่ ถ้ายังไม่ติด ไฟไม่เข้า แสดงว่าเจ๊งเรียบร้อย

4. ข้อปฏิบัติในการเลือกเพาเวอร์ซัพพลาย ทดแทนมีอะไรบ้าง

Step 1: เลือก PSU ที่มีขนาด WATT รองรับเพื่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเรา
คำถามคือ แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าควรซื้อ PSU กำลังไฟเท่าไหร่ดี ? ผมมีสูตรง่ายๆมาให้คิดครับให้เอา TDP ของ CPU + GPU มา x2 และบวกอีก 80หรือ120 ครับ เป็นวิธีง่ายๆที่ใช้ได้จริง แต่ผมบอกก่อนนะว่า TDP ไม่ได้เป็นตัวบอกการกินไฟนะ มันคือการคายความร้อนครับ แต่สามารถเอามาใช้ ในการตัดสินใจคร่าวๆได้ครับ ที่ให้เพิ่มอีกนิดหน่อยก็สำหรับส่วนอื่นๆในคอมพิวเตอร์ มันกินไฟน้อย ดังนั้นเผื่อประมาณนี้ไว้ก็พอ ส่วนถ้าใครพัดลมเยอะ ชุดน้ำใหญ่ ไฟจัดเต็ม ก็บวกสัก 120 หรือเพิ่มอีกสักหน่อย และที่ให้ x2 เพื่อกะให้ PSU มี Load อยู่ที่ราวๆ 50-60% นั่นเอง เพราะถ้าใช้ใกล้ขีดจำกัดตลอดอาจส่งผลต่ออายุการใช้งานของ PSU ได้ครับผม ซึ่งตามหลักแล้ว แนะนำให้ซื้อ ตัวที่มี watt เผื่อไว้เยอะหน่อยก็ดีครับ เพราะถ้าคอมรวมกินแค่ 300w ซื้อตัวกำลัง 1000w ก็ใช้ไฟแค่เท่าเดิมครับ ไม่ได้เพิ่มตาม ดังนั้นเผื่อเหลือๆได้ แต่ขาดไม่ได้ครับผม

Step 2: เลือกหาซื้อตัวที่ได้รับมาตรฐานการจ่าย ไฟ 80PLUS หรือ 80+
หากต้องการตัวเดียวจบ ใช้กันแบบยาวๆ แนะนำ ให้เลือก
PSU ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจ่ายไฟ 80+  ซึ่งเป็นการรับรองว่า PSU ตัวนี้นั้น จ่ายไฟได้กี่ % ได้มาตรฐานสากล หรือตามที่ระบุหรือไม่ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นหลายระดับ เช่น White /  Bronze / Silver / Gold / Platinum /Titanium เป็นต้น ยิ่งสูงก็ยิ่งดีครับ ซึ่งสำหรับคอมพิวเตอร์ ใช้งานทั่วไป หรือใช้สำหรับเกมเมอร์ แนะนำเลือก Bronze / Silver / Gold ก็เพียงพอแล้วครับ ถ้างบเราน้อย ไม่ต้องใส่ใจมากก็ได้ เพราะมันต่างกันแค่ไม่กี่ % เท่านั้นครับ ถ้าเอาแบบง่ายๆเลยผมมีจัด Tier คุณภาพไว้ให้แล้วในช่อง สามารถดูและเลือกซื้อได้ทันทีครับ

Step 3: ถอดสายไฟ แยกได้ หรือไม่ (Modular Support)

อันนี้ง่ายๆครับ Modular คือ ออฟชั่นเสริม PSU ในระดับ Hi-end ที่รองรับการถอดสายไฟได้ ถ้าหากไม่มีก็จะเป็นแบบมีสายติดมากับตัว PSU ซึ่งทำให้จัดสายไฟ ให้สวยงามยาก เพราะไม่สามารถเลือกนำสายที่ไม่ใช้ถอดเก็บได้ ซึ่งในบางรุ่นจะมีเป็น Semi-Modular คือใส่ไว้ให้บางส่วนแค่ส่วนหลักๆครับ ความต่างของพวกนี้จะเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่เคส และความสวยงามเป็นระเบียบมากกว่า และส่วนใหญ่ที่ดีๆก็มักจะเป็นแบบ Modular ทั้งหมด ดังนั้นไม่ต้องซีเรียสก็ได้ครับ

ซึ่งประกอบด้วย:

  • 80 PLUS
  • 80 PLUS Bronze
  • 80 PLUS Silver
  • 80 PLUS Gold
  • 80 PLUS Platinum
  • 80 PLUS Titanium

ยิ่ง PSU ของคุณมีประสิทธิภาพมาก ก็ยิ่งใช้พลังงานและก่อให้เกิดความร้อนน้อยลง ด้วยเหตุนี้ ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นจึงมักมาพร้อมกับราคาที่สูงขึ้น ดังนั้นคุณจึงควรค้นหาจุดสมดุลที่เหมาะสมสำหรับคุณ

แผนภูมิประสิทธิภาพโลหะ

5.จงเขียนขั้นตอนการถอดเปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ 

1.ถอดปลั๊ก ปิดสวิตซ์
2.เปิดฝาเคสคอมพิวเตอร์ ถอดสายการเชือมต่อเพาเวอร์ซัพพลายกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชิ้น
3.ถอดน็อตที่ยึดเคสติดกับเพาเวอร์ซัพพลาย
4.นำเพาเวอร์ซัพพลายออกจากเคส
5.นำเพาเวอร์ซัพพลายใหม่ติดตั้งลงไป
6.ยึดน็อตที่เคสและเพาเวอร์ซัพพลาย
7.เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ให้ครบ
8.เสียบปลั๊ก เปิดสวิตซ์ ทดสอบการใช้งาน
9.หากการใช้งานปกติ สามารถปิดฝาเคส พร้อมนำไปใช้งาน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PZEM-004T V3.3

ระบบ​ปฏิบัติการ​